20 พ.ย. 2553

ไขขาวในชินเงิน


เคยสังเกตุดูกันมั๊ยครับว่า "พระกรุเนื้อชิน" ของคุณมีไขขึ้นด้วย...ไขสีขาวๆ นี้มาจากไหน?

ถ้าเราเฝ้าสังเกตดีดี..จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงของไขสีขาวๆ นี้มีเกิดขึ้นตลอดเวลาดังกล่าวที่ว่า "พระกรุมีชีวิต" ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ผู้นิยมชื่นชอบพระกรุเฝ้าส่องพระของเขา..อย่างไม่รู้จักเบื่อ

"ไขมันผุดออกมาจากข้างในสู่ด้านนอก"  ผมสรุปจากการเฝ้าสังเกตพระเนื้อชินเงินของตัวเอง 

ผิวชั้นนอกสุดของพระบางองค์จะมี "ผิวปรอท" หรือ "พรายเงิน"  ที่มีลักษณะคล้ายฝ้า หรือ คราบขาวๆ ของเนื้อเงินคลุมอยู่บางๆ มีมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกของพระองค์นั้นๆ

แต่เจ้าไขสีขาวๆ นั้นถึงแม้มันจะอยู่ด้านนอกคลุม "ผิวปรอท" หรือ "พรายเงิน" ก็จริงอยู่ แต่มันระเบิดออกมาจากด้านใน



วิธีการสังเกตุเจ้าไขชนิดนี้เพื่อเป็นหลักในการแยกแยะพระแท้..ออกจากพระเก๊ ก็คือ  ดูที่เจ้าหลุมระเบิดนี่แหละครับ 

เมื่อเนื้อพระชินเงินระเบิดจากด้านในออกสู่ด้านนอกขอบหลุมระเบิดจะยกสูง (นึกถึงภาพข่าวเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้..คล้ายๆกัน) หลุมลึก แต่ขอบของหลุมสูง 

ถ้าเป็นของทำเลียนแบบขอบหลุมจะราบเรียบเพราะใช้กรดกัดเซาะเนื้อจากด้านนอกผิว

สีของเจ้าไขชนิดนี้ก็ไม่ขาวซะทีเดียวนะครับ..มีลักษณะชุ่มฉ่ำ เป็นมัน  สีออกเหลืองอ่อนๆ

เอาหล่ะครับ..ได้เวลากลับไปดูพระเนื้อชินเงินของท่านแล้ว

ถ้าขอบหลุมระเบิดที่เนื้อพระของท่านราบเรียบ......"ก็เรียบร้อย!"
เชิญแวะชม "ร้านเก๋าสยามพาณิชย์" ตาม Link นี้ด้านล่างเลยนะครับ  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น