15 ก.ย. 2555

พระสมเด็จในหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารอันตรธานไปไหน?


พระยืนองค์ใหญ่ในวัดอินทรวิหารนี้ เริ่มสร้างกันมาแต่สมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี ครับ ในปี พ.ศ. 2410 โน่น จวบจนสมเด็จโต ท่านสิ้นชีพิตักษัย การก่อสร้างพระยืนองค์นี้จึงถูกทิ้งร้างค้างไว้  เวลาล่วงเลยมาจนถึงปี พ.ศ.2461 พระครูสังฆรักษ์ ท่านได้ดำเนินการก่อสร้างต่อ แต่ก็ด้วยทิ้งร้างไป 50 ปีเศษจึงเกิดต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นในโครงสร้างขององค์พระเดิม ก็ต้องให้คนงานรื้อต้นโพธิ์นี้ออกพร้อมกับเศษวัสดุอื่นๆที่อยู่ในนั้นด้วย  ปรากฎว่าตาม ขื่อ คาน โครงสร้างเดิมได้พบ "พระสมเด็จ" เป็นจำนวนมากคนงานไม่ทันระวังเป็นเหตุให้ "พระสมเด็จ" แตกหักเสียหายไปจำนวนหนึ่ง ท่านพระครูสังฆรักษ์ ได้นำพระที่แตกหักเหล่านั้นมาสร้างพระที่เราเรียกกันติดปากว่า "พระสมเด็จพระครูสังฆ์" นั่นแหละครับ..แล้ว "พระสมเด็จ" ที่ไม่แตกหักในสภาพเดิมๆ ไปอยู่เสียที่ไหนหมดเล่า? ..อันนี้สิน่าคิด..

โบว์ชัวร์ของ วัดพระธาตุแม่เจดีย์

ในปัจจุบันกาล  เกิดพิพิธภัณฑ์พระเครื่องของเมืองเชียงราย ณ วัดพระธาตุแม่เจดีย์พระเครื่องในพิพิธภัณฑ์มี "พระสมเด็จ" อยู่เป็นจำนวนมาก ที่มาที่ไปของ "พระสมเด็จ" เหล่านี้ปรากฎความในเอกสารของ "วัดพระธาตุแม่เจดีย์" เรียบเรียงโดย คุณจงคิด ชินวินิจกุล สรุปความได้ว่า


พระสมเด็จเหล่านี้ หลวงพ่อถวัลย์ ท่านเจ้าอาวาสของวัดพระธาตุแม่เจดีย์รับมอบมาจาก คุณตาของท่าน ชื่อ นายอ้าย ปินตาแสง ซึ่งเคยบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้  พระเครื่องเหล่านี้เป็นของ จีน "พด" พ่อค้าชาวจีนที่อยูในละแวกวัดอินทรวิหารและมีเรือขึ้นล่องจาก บากกอก-ลำพูน มาขายสินค้าเสมอๆ ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.2460-2480  จีน "พด" ได้สนิทสนมคุ้ยเคยกับ "นายหม่อน" ทวดของ "เณรอ้าย ปินตาแสง" จนยกที่ดินส่วนหนึ่งให้ตั้งรกรากที่ลำพูนและได้ก่อสร้างยุ้งฉางหรือโกดังไว้บนที่ดินแปลงนี้ เมื่อคราวจีน "พด" ล่องเรือขึ้นมาลำพูนคราใดก็จะมี "หีบเหล็ก หรือ หีบไม้" ที่ปิดล๊อคแน่นหนาติดมาด้วยเสมอและได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่ยุ้งฉางนี้..หน้าตาของเจ้าหีบที่ว่าก็เป็นอย่างในรูปข้างล่างนี่แหละครับ..
หีบบรรจุพระที่ นายอ้าย ปินตาแสง ได้รับตกทอดมาจาก "จีนพด" พ.ศ.2460-2480

ก่อนจีน "พด" จะเสียชีวิตได้มอบหีบเหล่านี้ไว้กับ "นายหม่อน" พร้อมกำชับไว้ด้วยว่าหากไม่เกี่ยวด้วยการแห่งศาสนาแล้วห้ามนำของในหีบนั้นออกมาเป็นอันขาดอาจเป็นอันตรายเสียหายแก่ "นายหม่อน" และครอบครัวได้  นายหม่อนได้เก็บรักษา "หีบ" เหล่านี้มาโดยตลอดคราวนี้ถึงคราว "นายหม่อน" แก่ชราลงบ้างในวาระสุดท้ายของท่านได้มอบ "หีบ" เหล่านี้ให้กับ นายอ้าย ปินตาแสง หลานชายซึ่งขณะนั้นบวชเป็น "เณร" อยู่ก็คงพิจารณาว่า "เณรอ้าย" บรรพชาอยู่ในบวรพุทธศาสนามีความเหมาะสมที่จะเก็บรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่ผิดวัตถุประสงค์ตามที่ จีน"พด" สั่งความไว้..เมื่อ เณรอ้าย ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุแม่เจดีย์แห่งนี้จึงได้นำสิ่งเหล่านี้ติดตามมาด้วยครั้นเมื่อเปิดหีบดูจึงพบพระเครื่อง พระพิมพ์เป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นมีพระสมเด็จรวมอยู่ด้วยถูกแยกไว้เป็นสัดเป็นส่วนไม่ปะปนกัน..จวบจนกระทั่งปัจจุบัน พระสมเด็จเหล่านี้ได้มอบให้ หลวงพ่อถวัลย์ ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นหลานของ "นายอ้าย ปินตาแสง" เก็บรักษาไว้และได้นำออกแสดงในพิพิธภัณฑ์พระเครื่องของวัดเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา

ภาพจาก : http://krua5to.blogspot.com/


พระสมเด็จในพิพิธภัณฑ์พระเครื่อง วัดพระธาตุแม่เจดีย์
บทความเรื่อง "พระสมเด็จกรุวัดอินทร์" จากเอกสารของ "วัดพระธาตุแม่เจดีย์" มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเพื่อให้ท่านได้อรรถรสและข้อมูลกันอย่างเต็มที่  กระผม "นายเก๋าสยาม" จึงขอนำบทความดังกล่าวมาให้ท่านได้อ่านกันแบบเต็มๆ ดังนี้ครับ..(ขอขอบคุณ :http://krua5to.blogspot.com/)




นี่ขนาดแค่ "จีนพด" พ่อค้าชาวบ้านร้านตลาดละแวกวัดอินทรวิหารยังมี "พระสมเด็จ" ได้มากมายขนาดนี้แล้วท่าน "พระยานาหมื่น" แถวนั้นมิได้เก็บกันเป็นพะเรอเกวียนเชียวหรือ?...อย่างนี้เองเล่า "พระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหาร" ถึงได้หายไปกันหมด..พระสมเด็จแบบนี้ถึงจะดูเป็นพระนอกตำราไปเสียบ้าง  แต่สำหรับผู้ที่มีจิตศรัทธาต่อองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โตแล้วล่ะก็..ผมว่าน่าสนใจมิใช่น้อย...

สวัสดีครับ
































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น